วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

ประวัติส่วนตัว

                                                                     ประวัติส่วนตัว




ชื่อ                          มานิตย์      นามสกุล    ดวงจันทร์
ชื่อเล่น                    นิตย์
เชื้อชาติ                  ไทย
สัญชาติ                   ไทย
ศาสนา                    พุทธ
สถานะภาพ             แต่งงาน
วันเกิด                     วัน อังคาร ที่ 7 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2518
Email                      manitt1975@gmail.com
เบอร์โทรศัพท์         0861836074
กำลังศึกษา             สาขา รัฐประศาสนศาสตร์
                               คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
                               มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่


ส่งงานรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร
                         หมู่เรียน 03 
                         อ.กฤษณา  เขียวมั่ง

แนะนำพระเบญจภาคี และ วิดีโอผ่านเว็บไซด์ Youtube


พระเครื่องยอดนิยม ๕ องค์ ได้แก่ พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ พระนางพญา พิษณุโลก พระซุ้มกอ กำแพงเพชร พระผงสุพรรณ สุพรรณบุรี และพระรอด ลำพูน





พระนางพญา


                                                                  พระนางพญา





ในวงการพระเครื่องได้มีการจัดหมวดหมู่ตัวแทนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ๕ ยุคสมัยไว้ด้วยกัน กล่าวคือ พระรอด เป็นตัวแทนสมัยทวารวดี พระผงสุพรรณ ตัวแทนสมัยอู่ทอง พระซุ้มกอ ตัวแทนสมัยสุโขทัย พระนางพญา ตัวแทนสมัยกรุงศรีอยุธยา พระสมเด็จวัดระฆัง ตัวแทนสมัยรัตนโกสินทร์
อาจารย์สมาน บุญเพ็ญ หรือ สมาน คลองสาม ผู้เชี่ยวชาญพระเครื่องรุ่นใหญ่ ที่คร่ำหวอดในวงการมานานกว่า ๔๐ ปี แสดงทรรศนะเกี่ยวกับ “พระนางพญา” ว่า จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ ระบุว่าผู้สร้างคือ พระวิสุทธิกษัตริย์ พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย วีรสตรีสมัยกรุงศรีอยุธยา อัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และเป็นพระราชมารดาของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช วีรกษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราชชาติไทย
“มวลสารเป็นดินเผาผสมว่านและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ คลุกเคล้าเข้าด้วยกัน แม่พิมพ์เป็นศิลปะสกุลช่างสุโขทัย ลักษณะปฏิมากรรมแบบนูนต่ำ ในทรงสามเหลี่ยม ประทับนั่งปางมารวิชัย สันนิษฐานว่าน่าจะพิมพ์ครั้งละหลาย ๆ องค์ แล้วใช้ของมีคมตัดออกจากกัน ก็เลยมีรอยครูดที่เรียกว่า รอยตัดตอก ทำเสร็จก็แจกทหารเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ที่เหลือก็นำไปบรรจุกรุในเจดีย์ตามวัด เช่น วัดนางพญา เป็นต้น”
พระนางพญาหลัก ๆ แบ่งเป็น ๖ แม่พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์เข่าตรง พิมพ์เข่าโค้ง พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์เทวดา พิมพ์อกนูนใหญ่ และพิมพ์อกนูนเล็ก โดยเฉพาะพิมพ์เข่าตรงจะแยกเป็น ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์มือตกเข่า และมือไม่ตกเข่า เนื้อพระค่อนข้างหยาบ แกร่งและแข็งมาก ส่วนวรรณะมีหลายสี เช่น แดง ดำ เขียว เหลือง และสีดินหม้อใหม่ (ส้ม)
“พระนางพญาแตกกรุประมาณ พ.ศ.๒๔๔๔ เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก เพื่อทรงทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราช
จำลอง ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารหรือวัดใหญ่ คาดว่าวัดนางพญาซึ่งอยู่ใกล้กันได้มีการปรับที่ดินรับเสด็จฯ ทำให้พบพระเครื่องจำนวนมาก จึงคัดเลือกองค์สวยสมบูรณ์ทูลเกล้าฯ ถวายและแจกจ่ายข้าราชบริพารในสมัยนั้นคนละ ๒-๓ องค์”
ขณะเดียวกันก็มีข้อมูลว่า พระนางพญาแตกกรุ เพราะมือดีลอบขุดเจดีย์วัดนางพญาเพื่อหาพระทองคำและพระบูชาเนื้อสัมฤทธิ์ ตอนนั้นเจอพระมากมาย แต่ไม่มีใครสนใจขนไปทิ้งปะปนกับเนินดิน เนื่องจากคนสมัยก่อนไม่นิยมนำพระเข้าบ้าน ทิ้งตากแดดตากฝนถูกทับถมหลายสิบปี กระทั่งมีคนนำไปบูชาเจออภินิหารและประสบการณ์ ทั้งแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม คราวนี้แห่มาหากันจ้าละหวั่น ขุดดินพรุนทั้งวัด จนทางวัดสั่งเทปูนซีเมนต์คลุมผิวดินทั้งหมด ทำให้การขุดพระต้องเลิกไป
“แรงจูงใจสำคัญที่ผู้หญิงชื่นชอบพระนางพญา อาจเป็นเพราะว่า พระพิมพ์นี้เป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว องค์เล็กขนาดกำลังดี ฐานกว้างประมาณ ๒ ซม. สูง ๒.๘ ซม. เหมาะสำหรับผู้หญิง ยิ่งถ้านำไปเลี่ยมใส่ตลับทองคำฝังเพชร หรือเลี่ยมทองคล้องติดตัวแล้วสวยงามคลาสสิกมาก ด้านพุทธคุณ นักนิยมพระเชื่อกันว่า โดดเด่นที่สุดคือ เมตตา มหานิยม แคล้วคลาดคงกระพัน ป้องกันอันตรายได้ยอดเยี่ยม”

พระรอด

                                                                      พระรอด





                                                                      ประวัติ พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน               


                      พระรอด เป็นนามที่ผู้สันทัดรุ่นก่อนเชื่อกันว่า เรียกตามนามพระฤาษีผู้สร้างคือ พระฤาษี นารทะหรือพระฤาษี นารอดพระรอดคงเรียกตามนามพุทธรูป ศิลา องค์ที่ประดิษฐ์อยู่ในวิหาร วัดมหาวันที่ชาวบ้านเรียกว่า แม่พระรอดหรือ พระ รอดหลวงในตำนานว่า คือ พระพุทธ สิขีปฏิมา ที่พระนามจามเทวี อันเชิญมาจากกรุงละโว้ พระนามนี้เรียกกันมาก่อนที่จะพบพระรอดพระพุทธรูปองค์นี้ ที่พื้นผนังมีกลุ่มโพธิ์ใบคล้ายรัศมี ปรากฏด้านข้างทั้งสองด้าน                พระรอด มีการขุดพบครั้งแรกราวต้นรัชกาลที่ 5 แต่ที่สืบทราบมาได้จากการบันทึกไว้ ของท่านอธิการทา เจ้าอาวาสวัดพระคงฤาษีในขณะนั้น และอาจารย์บุญธรรม วัดพระมหาธาตุหริภุญไชย ว่าในปี พ.ศ. 2435 พระเจดีย์วัดมหาวันได้ชำรุดและพังทลายลงบางส่วน ในสมัยเจ้าหลวงเหมพินทุไพจิตร ทางวัดได้มีการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ ในครั้งนั้นได้พบพระรอดภายในกรุเจดีย์มากที่สุด พระรอดมีลักษณะของผนังใบโพธิ์คล้ายพระศิลา ในพระวิหารวัดมหาวัน ผู้พบพระรอด ในครั้งนั้นคงเรียกตามนามพระรอดหลวง แต่นั้นมาก็ได้นำพระรอดส่วนหนึ่งที่พบในครั้งนี้ นำเข้าบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ตามเดิม อีกประมาณหนึ่งบาตร                พระรอด ขุดค้นพบในปี พ.ศ. 2451 ในครั้งนั้นฐานพระเจดีย์ใหญ่วัดมหาวันชำรุด ทางวัดได้รื้อออกเสียและปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ได้พบพระรอดที่บรรจุไว้ใน พ.ศ. 2435 ได้นำออกมาทั้งหมด และนำออกแจกจ่ายแก่ข้าราชการและผู้ร่วมงานในขณะนั้น เป็นการพบพระรอดจำนวนมาก พระรอด กรุนี้ถือเป็นพระกรุเก่าและตกทอดมาจนบัดนี้ และทางวัดมหาวันได้จัดพิธีสร้างพระรอดรุ่นใหม่บรรจุไว้แทน เข้าใจว่าคงเป็นรุ่นพี่พระครูบากองแก้วเป็นผู้สร้างไว้เพราะมีบางส่วนนำออกแจกให้ประชาชนในขณะนั้น เรียกว่า พระรอด ครูบากองแก้ว                จากนั้นช่วงเวลาผ่านมาจนถึง ปี พ.ศ. 2498 ได้ขุดพบพระรอดด้านหน้าวัด และใต้ถุนกุฏิพระ ได้พบพระรอดจำนวนเกือบ 300 องค์ มีทุกพิมพ์ทรง กรุนี้ถือว่าเป็นกรุพระรอดกรุใหม่ ที่หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบันนี้ถึงปี พ.ศ. 2506 ทางวัดมหาวันได้รื้อพื้นพระอุโบสถ เพื่อปฏิสังขรณ์ใหม่ ได้พบพระรอดครั้งสุดท้ายที่มีจำนวนมากถึง 300 องค์เศษ พระรอดรุ่นนี้มีผู้นำมาให้เช่า ในกรุงเทพจำนวนมาก พระรอดส่วนใหญ่จะคมชัด และงดงามมากเป็นพระรอดกรุใหม่รุ่นสอง หลังจากนั้นต่อมาก็มีผู้ขุดหาพระรอด ในบริเวณลานวัด แทบทุกซอกทุกมุมทั่วพื้นที่ในวัด นานๆ ถึงจะได้พบพระรอดขึ้นมาองค์หนึ่ง เป็นเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งทางวัด ได้ระงับการขุดพระรอด นอกจากพระรอดแล้ว วัดมหาวัน ยังขุดพบพระเครื่องสกุลลำพูน เกือบทุกพิมพ์ ที่พิเศษคือ ได้พบพระแผ่นดุนทองคำเงิน แบบเทริดขนนกมากที่สุดในลำพูนด้วย                พระรอดได้ขุดค้นพบที่วัดมหาวันเพียงแห่งเดียวเท่านั้นเนื้อดินเผาละเอียดหนักนุ่มมาก องค์พระประทับนั่งขัดเพ็ชรปางมารวิชัยประกอบด้วยพื้นผนังใบโพธิ์ทั้งสองด้าน มีศิลปะโดยรวมแบบทวาราวดี ศรีวิชัย เป็นรูปแบบเฉพาะของสกุลช่วงสมัยหริภุญไชย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 แบ่งลักษณะ แบบได้ 5 พิมพ์ทรง คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้นนั้น มีลักษณะจุดตำหนิโดยรวมที่เป็นสัญลักษณ์ปรากฏทุกพิมพ์ ในพิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก          เริ่มจากด้านบนของทั้งสามพิมพ์มีจุดโพธิ์ติ่ง ทั้งสามพิมพ์นี้มี 3 ใบ ปรากฏที่เหนือปลายเกศ และด้านข้างพระเศียร 2 ใบ กลุ่มใบโพธิ์แถวนอกจะใหญ่กว่าแถวใน และโพธิ์คู่ทั้ง 3 พิมพ์นี้มีระดับสูงเกือบเสมอกัน เส้นรอยพิมพ์แตกมีเฉพาะพิมพ์ใหญ่เท่านั้น มีรูปคล้ายตัวหนอนปรากฏเส้นข้างพระกรรณด้านซ้ายขององค์พระ เหนือเข่าด้านซ้ายขององค์พระมีเส้นน้ำตกเป็นเส้นนูนเล็กมาวาดจากใต้ข้อศอกพระรอดใต้ฐานชั้นบน เฉพาะพิมพ์ใหญ่มีฐาน 4 ชั้น พิมพ์กลาง เล็ก ต้อ ตื้น มีฐาน 3 ชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์ตื้นมีเนื้อดินยื่นจากใต้ฐานล่างที่สุดเรียกว่า ฐาน 2 ชั้น พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อไม่มี กลุ่มโพธิ์แถวนอกของทุกพิมพ์จะคล้าย ๆ กันเพราะทำมาจากช่างคนเดียวกัน          นอกจากนั้นพิมพ์ต้อกับพิมพ์ตื้นกลับไม่ค่อยมีใบโพธิ์ในพิมพ์ตื้นมีพื้นผนังโพธิ์แถวใน ใบโพธิ์ติดชิดกับองค์พระแล้วลาดเอียงลงที่กลุ่มโพธิ์แถวนอก ตรงแสกหน้ามีรอยพิมพ์แตกเป็นจุดสังเกต ในพิมพ์ต้อไม่ปรากฏโพธิ์แถวใน พื้นผิวติดองค์พระสูงลาดเอียงลงมา ที่กลุ่มโพธิ์แถวนอกเฉพาะตรงปลายเส้น ชี้นูนสูงที่สุดเป็นจุดสำคัญ นอกจากนี้ประการสำคัญที่สุดของพระรอด ที่ของปลอมจะทำเลียนแบบได้ยากคือ การจำรูปแบบพิมพ์ทรง และความเก่าของเนื้อเฉพาะพิมพ์ใหญ่จะปรากฏพระโอษฐ์ (ปาก) เม้มจู๋คล้ายปากปลากัด มีรอยหยักพับที่ริมฝีปากบนชัดเจนมาก เป็นจุดลับที่ควรสังเกตไว้ และกลุ่มโพธิ์แถวนอกของพิมพ์ใหญ่ด้านซ้าย ขององค์พระ มีระดับลาดเอียงเห็นได้ชัดเจนมาก เป็นจุดสังเกตที่ของปลอมจะทำได้ยาก

พระสมเด็จ

                                                 พระสมเด็จ






พระสมเด็จฯ สร้างโดยท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) นั้นในวงการพระเครื่องได้ให้สมญานามว่า จักรพรรดิพระเครื่อง และเป็นหนึ่งในเบญจภาคีที่ได้รับความนิยมสุงสุด ไม่เฉพาะในประเทศไทย หากแต่ปัจจุบันนี้นับได้ว่าเป็นพระเครื่องที่ได้รับความนิยมสูงสุดในโลก 









ซุ้มกอ


                           พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ ค่านิยม๖ล้าน







 พระซุ้มกอกำแพงเพชรจัดเป็นพระเครื่องที่สุดยอดสกุลหนึ่ง และเป็นอันดับหนึ่งของจ.กำแพงเพชรเป็นพระที่อมตะทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณ และถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย  ทำจากเนื้อดินผสมว่าน ๑๐๘  และเกสรดอกไม้และทำจากเนื้อชินเงินก็มี

               พุทธลักษณะของพระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้นองค์พระแกะเป็นรูปพระโพธิสัตว์ทรงเครื่อง พุทธลักษณะอยู่ในยุคสมัยสุโขทัยนั่งขัดสมาธิมีลวดลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระ และนั่งประทับอยู่บนดอกบัวเล็บช้างห้าดอก และส่วนของขอบพิมพ์พระจะโค้งมนมีลักษณะคล้ายๆ ตัว ก.ไก่ คนรุ่นเก่าๆ จึงเรียกตามลักษณะนี้ว่า “พระซุ้มกอ”

               พระเครื่องในสกุลกำแพงเพชรนั้น มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงิน ในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๒  สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆังฯ ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชรมีอยู่ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระและอุปเท่ห์การอาราธนาพระ รวมถึงพุทธานุภาพที่มหัศจรรย์อย่างยิ่งของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย     
        
               จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่น่าเชื่อถือได้โดยสรุปว่า อายุการสร้างของพระซุ้มกอกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบันจึงมีประมาณ ๗๐๐-๘๐๐ ปี

พระผงสุพรรณ

                                                                 พระผงสุพรรณ






ศิลปะแห่งองค์พระผงสุพรรณ           จากสำเนาจารึกลานทองที่ค้นพบกล่าวถึงการสร้าง พระผงสุพรรณไว้ ความว่าศุภมัสดุ 1265  สิทธิการิยะ แสดงบอกไว้ให้รู้ว่าฤาษีทั้งสี่ตนพระฤาษีพิมพิลาไลย์เป็นประธาน  เราจะทำด้วยฤทธิ์ทำด้วยเครื่องประดิษฐ์ มีสุวรรณเป็นต้น คือ บรมกษัตริย์พระยาศรีธรรมโศกราช  เป็นผู้มีศรัทธา พระฤาษีทั้งสี่ตนจึงพร้อมกันนำเอาแต่ว่านทั้งหลาย  พระฤาษีจึงอัญเชิญเทวดามาช่วยกันทำพิธีเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่งแดง  สถานหนึ่งดำ  ให้เอาว่านทำเป็นผงก้อน พิมพ์ด้วยลายมือของมหาเถระปิยะทัสสะสี  ศรีสารีบุตร คือ เป็นใหญ่เป็นประธานในที่นั้น  ได้เอาแร่ต่าง ๆ มีอานุภาพต่างกัน  เสกด้วยมนต์คาถาครบ  ๓  เดือน  แล้วท่านให้เอาไปประดิษฐ์ไว้ในสถูปแห่งหนึ่งที่เมืองพันทูม          ถ้าผู้ใดพบเห็นให้รับเอาไปไว้สักการบูชาเป็นของวิเศษ  แม้จะมีอันตรายประการใดก็ดี  ให้อาราธนาผูกไว้ที่คอ  อาจคุ้มครองภยันตรายได้ทั้งปวง  เอาพระสงสรงน้ำมันหอม  แล้วนั่งบริกรรม พุทธคุณ  ธรรมคุณ  สังฆคุณ  ๑๐๘  จบ  พาหุง  ๑๓  จบ ใส่ชันสัมฤทธิ์  นั่งสันนิษฐานเอาความปรารถนาเถิดให้ทาทั้งหน้าและผม  คอหน้าอก  ถ้าจะใช้ทางเมตตา  ให้มีสง่า  เจรจาให้คนทั้งหลายเชื่อฟังยำเกรง  ให้เอาพระไว้ในน้ำมันหอม  เสกด้วยคาถานวหรคุณ ๑๓  จบ  พาหุง  ๑๓  จบ  พระพุทธคุณ  ๑๓ จบ ให้เอาดอกไม้ธูปเทียนทำพิธีในวันเสาร์  น้ำมันหอมเก็บไว้ใช้ได้เสมอทาริมฝีปาก  หน้าผาก  และผม  ถ้าผู้ใดพบพระตามที่กล่าวมานี้  พระว่านก็ดี  พระเกสรก็ดี ทำด้วยแร่สังฆวานรก็ดี  อย่างประมาทเลย อานุภาพพระทั้ง  ๓  อย่างนี้ดุจกำแพงแก้วกันอันตรายทั้งปวงแล้วให้ว่าคาถาทแยงแก้วกันอันตรายทั้งปวง แล้วให้ว่าคาถาทแยงสันตาจนจบพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณจนจบพาหุงไปจนจบแล้วให้ว่าดังนี้อีก กะเตสิกเกกะระณังมหาไชยังมังคะ  สังนะมะพะทะ แล้วให้ว่า  กิริมิติ  กุรุมุธุ  เกเรเมเถ  กะระมะทะประสิทธิแล”         พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  สุพรรณบุรี  นับเป็นพระเครื่องเลื่องชื่อ ถูกบรรจุอยู่ในชุด เบญจภาคีซึ่งมีทั้งเนื้อดินและเนื้อชินเงิน  ที่เรียกว่า  พระผงสุพรรณยอดโถ”          แต่สาเหตุที่เรียกว่า ผงสุพรรณก็เนื่องจากการค้นพบจารึกลานทองกล่าวถึงการสร้างจากผงว่านเกสรดอก ไม้อันศักดิ์สิทธิ์  จึงได้รับการเรียกขานกันว่า ผงสุพรรณเรื่อยมา  โดยสามารถจำแนกออกได้เป็น ๓ พิมพ์                 ๑.  พระผงสุพรรณ  พิมพ์หน้าแก่         ๒.  พระผงสุพรรณ  พิมพ์หน้ากลาง         ๓.  พระผงสุพรรณ  พิมพ์หน้าหนุ่ม         ศิลปะพระผงสุพรรณมีความสัมพันธ์กับศิลปะพระพุทธรูปประเภทหนึ่ง ได้แก่  พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง  เนื่องมาจากแหล่งต้นกำเนิดของพระผงสุพรรณอยู่ในบริเวณที่เป็นศูนย์กลางของศิลปะทางศาสนาที่เรียกว่า ศิลปะอู่ทองประการหนึ่ง  นอกจากนี้ ลักษณะการแบ่งแม่พิมพ์พระผงสุพรรณยังจำแนกและเรียกชื่อแม่พิมพ์ตามพุทธลักษณะของพระพุทธรูปอู่ทอง  ซึ่งได้แก่  พิมพ์หน้าแก่  พิมพ์หน้ากลาง  และพิมพ์หน้าหนุ่ม  อีกด้วย         ในความเป็นจริงแล้วศิลปะอู่ทองเป็นศิลปะแห่งการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมัยทวาราวดีกับสมัยขอมหรือเขมร  ต่อมาช่วงหลังได้ผสมผสานศิลปะของสุโขทัยเข้าไปด้วย  จนกลายเป็นพุทธศิลปะที่เกิดจากการผสมผสานโดยมีอายุตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖  จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่  ๑๙  กล่าวคือ  เมื่อสิ้นยุคทวาราวดีขอมได้มีอำนาจ  ในดินแดนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  แต่ศิลปกรรมแห่งทวาราวดียังคงสืบทอดต่อเนื่อง โดยผสมผสานศิลปะของขอมเข้าไป ก่อนที่สุโขทัยจะกลายเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจรัฐและความเจริญทางด้านพุทธศาสนาต่อเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา  ศิลปะอู่ทองเดิมจึงผสมผสานกับศิลปะสุโขทัยอีกชั้นหนึ่ง  ซึ่งเราอาจแยกประเภทศิลปะของอู่ทองได้ดังนี้         ๑. ศิลปะอู่ทองยุคแรก  มีอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘  ศิลปะจะเป็นแบบผสมผสานระหว่างศิลปะทวาราวดีกับศิลปะขอม สามารถจำแนกออกเป็น            -  ศิลปะอู่ทอง สกุลช่างลพบุรี  รู้จักกันในชื่อ อู่ทองเขมร”  “อู่ทอง-ลพบุรีหรือ อู่ทอง-ฝาละมี”            -  ศิลปะอู่ทอง สกุลช่างสุพรรณบุรี รู้จักกันในชื่อ อู่ทอง-สุวรรณภูมิมีลักษณะคล้ายมนุษย์มาก ท่างดงามสุดยอด จะเรียกตามภาษาวงการพระว่า สันแข้งคางคน”         ๒. ศิลปะอู่ทองยุคที่สอง มีอายุอยู่ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙  ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ศิลปะจะผสมผสานระหว่างศิลปะอู่ทองยุคแรกกับศิลปะสุโขทัย  ช่างสมัยจะคาบเกี่ยวกันระหว่างศิลปะสุโขทัยจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น รู้จักกันในชื่อ อู่ทอง-อยุธยาตอนต้น”          ๓.  ศิลปะอู่ทองยุคที่สาม มีอายุอยู่ในราว พ.ศ.๑๙๕๒ - ๑๙๙๑  อยู่ในช่วงสมัยสมเด็จพระนครินทราชา  สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) จนถึงต้นรัชสมัยพระบรมไตรโลกนาถ  ศิลปะจะได้รับอิทธิพลของอยุธยามากขึ้น (จากการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณข้างศาลาหลวงพ่อเหย ด้านทิศตะวันตกห่างจากองค์ปรางค์ประธาน  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้  ๓๐ เมตร  พบแม่พิมพ์พระดินเผา  ขนาดกว้าง  ๓  ซ.ม.  สูง  ๔๒  ซ.ม.  เป็นแม่พิมพ์พระผงสุพรรณ  พิมพ์หน้าแก่แต่ท่อนล่างหกชำรุด) พุทธเอกลักษณ์พระผงสุพรรณ       พระผงสุพรรณ เป็นพระเครื่องที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  จ.สุพรรณบุรี  เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา  จำลองพุทธลักษณะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในลักษณะการปางมารวิชัย  แบ่งแยกแม่พิมพ์ได้เป็นพิมพ์หน้าแก่  พิมพ์หน้ากลาง  และพิมพ์หน้าหนุ่ม  (สมัยโบราณเรียกพิมพ์หน้าหนู)  องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย  บนฐานเชียงชั้นเดียว  พระเกศคล้ายฝาละมี  มีกระจังหน้า  พระพักตร์เคร่งขรึม พระนาสิกหนาใหญ่  พระอุระหนา ส่วนพระการทอดเรียว  แสดงออกถึงศิลปะสกุลช่างอู่ทองที่เน้นความละม้ายคล้ายคลึงกับมนุษย์มากที่สุด  ด้วยเหตุนี้  เมื่อพบพิมพ์พระ  ๓  ประเภท จึงเรียกชื่อตามลักษณะพระพักตร์และตามศิลปะสกุลช่างแห่งพระพุทธรูปที่พระพักตร์เหี่ยวย่นเหมือนคนแก่  เรียกว่า พิมพ์หน้าแก่  ที่พระพักตร์อิ่มเอิบเรียวเล็ก  ปราศจากรอยเหี่ยวย่น  เรียกว่าพิมพ์หน้าหนุ่ม     พระผงสุพรรณนั้นปรากฏตามจารึกลานทองกล่าวถึงการสร้างว่า  “……..พระฤๅษีทั้งสี่ตนจึงพร้อมกันนำเอาแต่ว่านทั้งหลาย  พระฤๅษีจึงอัญเชิญเทวดามาช่วยกันทำพิธีเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่งแดง สถานหนึ่งดำ ให้เอาว่านทำเป็นผงก้อน พิมพ์ด้วยลายมือของมหาเถระปิยะทัสสะสี  ศรีสารีบุตรคือ  เป็นใหญ่เป็นประธานในที่นั้น ได้เอาแร่ต่าง ๆ  มีอานุภาพต่างกัน  เสกด้วยมนต์คาถาครบ  ๓  เดือน แล้วท่านให้เอาไปประดิษฐ์ไว้ในสถูปแห่งหนึ่งที่เมืองพันทูมถ้าผู้ใดพบพระตามที่กล่าวมานี้  พระว่านก็ดี  พระเกสรก็ดี ทำด้วยแร่สังฆวานรก็ดี……”     ความหมายจากจารึกลานทองได้กล่าวถึงประเภทของพระผงสุพรรณไว้  ๒  ชนิด ได้แก่ พระเนื้อดินที่มีส่วนผสมจากว่านและเกสรต่าง ๆ  โดยเป็นพระเนื้อดินเผาตามกรรมวิธีการสร้างพระพิมพ์สมัยโบราณ สีพระผงสุพรรณจึงเป็น สถานหนึ่งดำ  สถานหนึ่งแดง”  และอีกชนิดหนึ่งได้แก่  พระผงสุพรรณที่ทำจากแร่ธาตุโลหะซึ่งเรียกตามจารึกว่า ได้เอาแร่ต่าง ๆ มีอานุภาพต่างกัน….ถ้าผู้ใดพบพระ…..ทำด้วยแร่สังฆวานรก็ดี”  ซึ่งหมายถึงพระผงสุพรรณเนื้อชินที่รู้จักกันในชื่อ  พระผงสุพรรณยอดโถ”     สำหรับพระผงสุพรรณเนื้อดินนั้น  เป็นพระเครื่องที่มีส่วนผสมวัสดุมวลสารจากดินละเอียด ว่าน และเกสรต่าง ๆ  คนโบราณเรียกว่า  พระเกสรสุพรรณ”  จะสังเกตได้ว่าเนื้อดินของพระผงสุพรรณเป็นเนื้อดินค่อนข้างละเอียด  หากเปรียบเทียบกับพระนางพญากรุวัดนางพญา  จ.พิษณุโลก  แล้วจะเห็นว่าเนื้อพระผงสุพรรณจะละเอียดกว่า  แต่ไม่ละเอียดมากเหมือน  พระรอดกรุวัดมหาวัน  จ.ลำพูน  ซึ่งดินที่ใช้เป็นดินในบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี  ซึ่งดินแต่ละที่จะมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนกัน  สำหรับปัญหาที่ว่า  หากผสมว่านเมื่อพระผ่านการเผา  มวลสารของว่านจะไม่สามารถทนอุณหภูมิความร้อนได้  ต้องย่อยสลายไปนั้น  หากพิจารณาแล้วในองค์พระผงสุพรรณก็ไม่ปรากฏโพรงอากาศอันเกิดจากการย่อยสลายของเนื้อว่าน  แต่อย่างใดนั้น ต้องพิจารณาถึงกรรมวิธีการสร้างพระของโบราณาจารย์เป็นสำคัญว่า  มีหลายวิธี  วิธีประการหนึ่งซึ่งพบหลักฐานในการนำว่านผงเกสรมงคล  ๑๐๘  มาเป็นวัตถุมงคลในการสร้างพระ  ได้แก่ การนำหัวว่านมงคลต่าง ๆ มาคั้นเอาน้ำว่านเป็นส่วนผสมเข้ากับมวลสารอื่น ๆ ซึ่งจะพบว่าพระผงสุพรรณนั้นมีความหนึกนุ่ม  และซึ้งจัด  หากได้โดนเหงื่อโคลนแล้ว ยิ่งขึ้นเป็นมันเงางามอย่างที่คนโบราณเรียกว่า  แก่ว่าน”  ซึ่งได้แก่การคั้นน้ำว่านผสมลงไป  ดังนั้น  เมื่อผ่านการเผาจึงมิได้เกิดการย่อย สลายของเนื้อว่าน     เนื่องจากพระผงสุพรรณเนื้อดินเป็นพระที่ผ่านการเผาไฟ  สีสันขององค์พระจึงเป็นเฉกเช่นเดียว  กับพระเนื้อดินที่ผ่านการเผาประเภทอื่น ๆ คือ มีตั้งแต่สีเขียวที่ถูกเผาในอุณหภูมิสูงและนานที่สุด สีแดง  สีน้ำเงินเข้ม สีเทา  ไปจนถึงสีดำ     การสร้างพระพิมพ์เนื้อดินเผา  มีมาแต่สมัยโบราณโดยมีการพัฒนาเทคโนโลยีการสร้างควบคู่มากับเทคนิคการทำเครื่องปั้น  ดินเผา โดยเฉพาะดินแดนประเทศไทยนั้น พบพระพิมพ์ดินเผาตั้งแต่ยุคทวาราวดีเรื่อยมา  ในศิลาจารึกหลักที่  ๒ วัดศรีชุม ซึ่งจารึกโดยพระมหาเถรศรีศรัทธา (พ.ศ. ๑๘๙๐ - ๑๙๑๗)  ได้กล่าวถึงปาฏิหารย์ของพระเกศธาตุโดย  เปรียบเทียบกับการเผาดินโดยแสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีในการควบคุมอุณหภูมิดังความว่า พระเกศ ธาตุเสด็จมี  หมู่หนึ่งซีดัง  สายฟ้าแลบดังแถวน้ำแล่นในกลางหาวอัศจรรย์  สิ่งหนึ่งเห็นตะวันออกเขียวดังสูงเผาหม้อเผาไห”  ซึ่งจากการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์พบว่า  สีของเปลวไฟที่ออกเป็นสีเขียว  จะต้องมีอุณหภูมิถึง  ๑,๓๐๐ - ๑,๔๐๐  องศาเซลเซียส  ซึ่งจะกระทำได้เมื่อมีเทคโนโลยีการสร้างเตาเผา การให้ความร้อนและการควบคุมอุณหภูมิอย่างดีเยี่ยม