วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

พระผงสุพรรณ

                                                                 พระผงสุพรรณ






ศิลปะแห่งองค์พระผงสุพรรณ           จากสำเนาจารึกลานทองที่ค้นพบกล่าวถึงการสร้าง พระผงสุพรรณไว้ ความว่าศุภมัสดุ 1265  สิทธิการิยะ แสดงบอกไว้ให้รู้ว่าฤาษีทั้งสี่ตนพระฤาษีพิมพิลาไลย์เป็นประธาน  เราจะทำด้วยฤทธิ์ทำด้วยเครื่องประดิษฐ์ มีสุวรรณเป็นต้น คือ บรมกษัตริย์พระยาศรีธรรมโศกราช  เป็นผู้มีศรัทธา พระฤาษีทั้งสี่ตนจึงพร้อมกันนำเอาแต่ว่านทั้งหลาย  พระฤาษีจึงอัญเชิญเทวดามาช่วยกันทำพิธีเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่งแดง  สถานหนึ่งดำ  ให้เอาว่านทำเป็นผงก้อน พิมพ์ด้วยลายมือของมหาเถระปิยะทัสสะสี  ศรีสารีบุตร คือ เป็นใหญ่เป็นประธานในที่นั้น  ได้เอาแร่ต่าง ๆ มีอานุภาพต่างกัน  เสกด้วยมนต์คาถาครบ  ๓  เดือน  แล้วท่านให้เอาไปประดิษฐ์ไว้ในสถูปแห่งหนึ่งที่เมืองพันทูม          ถ้าผู้ใดพบเห็นให้รับเอาไปไว้สักการบูชาเป็นของวิเศษ  แม้จะมีอันตรายประการใดก็ดี  ให้อาราธนาผูกไว้ที่คอ  อาจคุ้มครองภยันตรายได้ทั้งปวง  เอาพระสงสรงน้ำมันหอม  แล้วนั่งบริกรรม พุทธคุณ  ธรรมคุณ  สังฆคุณ  ๑๐๘  จบ  พาหุง  ๑๓  จบ ใส่ชันสัมฤทธิ์  นั่งสันนิษฐานเอาความปรารถนาเถิดให้ทาทั้งหน้าและผม  คอหน้าอก  ถ้าจะใช้ทางเมตตา  ให้มีสง่า  เจรจาให้คนทั้งหลายเชื่อฟังยำเกรง  ให้เอาพระไว้ในน้ำมันหอม  เสกด้วยคาถานวหรคุณ ๑๓  จบ  พาหุง  ๑๓  จบ  พระพุทธคุณ  ๑๓ จบ ให้เอาดอกไม้ธูปเทียนทำพิธีในวันเสาร์  น้ำมันหอมเก็บไว้ใช้ได้เสมอทาริมฝีปาก  หน้าผาก  และผม  ถ้าผู้ใดพบพระตามที่กล่าวมานี้  พระว่านก็ดี  พระเกสรก็ดี ทำด้วยแร่สังฆวานรก็ดี  อย่างประมาทเลย อานุภาพพระทั้ง  ๓  อย่างนี้ดุจกำแพงแก้วกันอันตรายทั้งปวงแล้วให้ว่าคาถาทแยงแก้วกันอันตรายทั้งปวง แล้วให้ว่าคาถาทแยงสันตาจนจบพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณจนจบพาหุงไปจนจบแล้วให้ว่าดังนี้อีก กะเตสิกเกกะระณังมหาไชยังมังคะ  สังนะมะพะทะ แล้วให้ว่า  กิริมิติ  กุรุมุธุ  เกเรเมเถ  กะระมะทะประสิทธิแล”         พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  สุพรรณบุรี  นับเป็นพระเครื่องเลื่องชื่อ ถูกบรรจุอยู่ในชุด เบญจภาคีซึ่งมีทั้งเนื้อดินและเนื้อชินเงิน  ที่เรียกว่า  พระผงสุพรรณยอดโถ”          แต่สาเหตุที่เรียกว่า ผงสุพรรณก็เนื่องจากการค้นพบจารึกลานทองกล่าวถึงการสร้างจากผงว่านเกสรดอก ไม้อันศักดิ์สิทธิ์  จึงได้รับการเรียกขานกันว่า ผงสุพรรณเรื่อยมา  โดยสามารถจำแนกออกได้เป็น ๓ พิมพ์                 ๑.  พระผงสุพรรณ  พิมพ์หน้าแก่         ๒.  พระผงสุพรรณ  พิมพ์หน้ากลาง         ๓.  พระผงสุพรรณ  พิมพ์หน้าหนุ่ม         ศิลปะพระผงสุพรรณมีความสัมพันธ์กับศิลปะพระพุทธรูปประเภทหนึ่ง ได้แก่  พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง  เนื่องมาจากแหล่งต้นกำเนิดของพระผงสุพรรณอยู่ในบริเวณที่เป็นศูนย์กลางของศิลปะทางศาสนาที่เรียกว่า ศิลปะอู่ทองประการหนึ่ง  นอกจากนี้ ลักษณะการแบ่งแม่พิมพ์พระผงสุพรรณยังจำแนกและเรียกชื่อแม่พิมพ์ตามพุทธลักษณะของพระพุทธรูปอู่ทอง  ซึ่งได้แก่  พิมพ์หน้าแก่  พิมพ์หน้ากลาง  และพิมพ์หน้าหนุ่ม  อีกด้วย         ในความเป็นจริงแล้วศิลปะอู่ทองเป็นศิลปะแห่งการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมัยทวาราวดีกับสมัยขอมหรือเขมร  ต่อมาช่วงหลังได้ผสมผสานศิลปะของสุโขทัยเข้าไปด้วย  จนกลายเป็นพุทธศิลปะที่เกิดจากการผสมผสานโดยมีอายุตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖  จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่  ๑๙  กล่าวคือ  เมื่อสิ้นยุคทวาราวดีขอมได้มีอำนาจ  ในดินแดนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  แต่ศิลปกรรมแห่งทวาราวดียังคงสืบทอดต่อเนื่อง โดยผสมผสานศิลปะของขอมเข้าไป ก่อนที่สุโขทัยจะกลายเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจรัฐและความเจริญทางด้านพุทธศาสนาต่อเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา  ศิลปะอู่ทองเดิมจึงผสมผสานกับศิลปะสุโขทัยอีกชั้นหนึ่ง  ซึ่งเราอาจแยกประเภทศิลปะของอู่ทองได้ดังนี้         ๑. ศิลปะอู่ทองยุคแรก  มีอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘  ศิลปะจะเป็นแบบผสมผสานระหว่างศิลปะทวาราวดีกับศิลปะขอม สามารถจำแนกออกเป็น            -  ศิลปะอู่ทอง สกุลช่างลพบุรี  รู้จักกันในชื่อ อู่ทองเขมร”  “อู่ทอง-ลพบุรีหรือ อู่ทอง-ฝาละมี”            -  ศิลปะอู่ทอง สกุลช่างสุพรรณบุรี รู้จักกันในชื่อ อู่ทอง-สุวรรณภูมิมีลักษณะคล้ายมนุษย์มาก ท่างดงามสุดยอด จะเรียกตามภาษาวงการพระว่า สันแข้งคางคน”         ๒. ศิลปะอู่ทองยุคที่สอง มีอายุอยู่ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙  ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ศิลปะจะผสมผสานระหว่างศิลปะอู่ทองยุคแรกกับศิลปะสุโขทัย  ช่างสมัยจะคาบเกี่ยวกันระหว่างศิลปะสุโขทัยจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น รู้จักกันในชื่อ อู่ทอง-อยุธยาตอนต้น”          ๓.  ศิลปะอู่ทองยุคที่สาม มีอายุอยู่ในราว พ.ศ.๑๙๕๒ - ๑๙๙๑  อยู่ในช่วงสมัยสมเด็จพระนครินทราชา  สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) จนถึงต้นรัชสมัยพระบรมไตรโลกนาถ  ศิลปะจะได้รับอิทธิพลของอยุธยามากขึ้น (จากการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณข้างศาลาหลวงพ่อเหย ด้านทิศตะวันตกห่างจากองค์ปรางค์ประธาน  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้  ๓๐ เมตร  พบแม่พิมพ์พระดินเผา  ขนาดกว้าง  ๓  ซ.ม.  สูง  ๔๒  ซ.ม.  เป็นแม่พิมพ์พระผงสุพรรณ  พิมพ์หน้าแก่แต่ท่อนล่างหกชำรุด) พุทธเอกลักษณ์พระผงสุพรรณ       พระผงสุพรรณ เป็นพระเครื่องที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  จ.สุพรรณบุรี  เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา  จำลองพุทธลักษณะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในลักษณะการปางมารวิชัย  แบ่งแยกแม่พิมพ์ได้เป็นพิมพ์หน้าแก่  พิมพ์หน้ากลาง  และพิมพ์หน้าหนุ่ม  (สมัยโบราณเรียกพิมพ์หน้าหนู)  องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย  บนฐานเชียงชั้นเดียว  พระเกศคล้ายฝาละมี  มีกระจังหน้า  พระพักตร์เคร่งขรึม พระนาสิกหนาใหญ่  พระอุระหนา ส่วนพระการทอดเรียว  แสดงออกถึงศิลปะสกุลช่างอู่ทองที่เน้นความละม้ายคล้ายคลึงกับมนุษย์มากที่สุด  ด้วยเหตุนี้  เมื่อพบพิมพ์พระ  ๓  ประเภท จึงเรียกชื่อตามลักษณะพระพักตร์และตามศิลปะสกุลช่างแห่งพระพุทธรูปที่พระพักตร์เหี่ยวย่นเหมือนคนแก่  เรียกว่า พิมพ์หน้าแก่  ที่พระพักตร์อิ่มเอิบเรียวเล็ก  ปราศจากรอยเหี่ยวย่น  เรียกว่าพิมพ์หน้าหนุ่ม     พระผงสุพรรณนั้นปรากฏตามจารึกลานทองกล่าวถึงการสร้างว่า  “……..พระฤๅษีทั้งสี่ตนจึงพร้อมกันนำเอาแต่ว่านทั้งหลาย  พระฤๅษีจึงอัญเชิญเทวดามาช่วยกันทำพิธีเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่งแดง สถานหนึ่งดำ ให้เอาว่านทำเป็นผงก้อน พิมพ์ด้วยลายมือของมหาเถระปิยะทัสสะสี  ศรีสารีบุตรคือ  เป็นใหญ่เป็นประธานในที่นั้น ได้เอาแร่ต่าง ๆ  มีอานุภาพต่างกัน  เสกด้วยมนต์คาถาครบ  ๓  เดือน แล้วท่านให้เอาไปประดิษฐ์ไว้ในสถูปแห่งหนึ่งที่เมืองพันทูมถ้าผู้ใดพบพระตามที่กล่าวมานี้  พระว่านก็ดี  พระเกสรก็ดี ทำด้วยแร่สังฆวานรก็ดี……”     ความหมายจากจารึกลานทองได้กล่าวถึงประเภทของพระผงสุพรรณไว้  ๒  ชนิด ได้แก่ พระเนื้อดินที่มีส่วนผสมจากว่านและเกสรต่าง ๆ  โดยเป็นพระเนื้อดินเผาตามกรรมวิธีการสร้างพระพิมพ์สมัยโบราณ สีพระผงสุพรรณจึงเป็น สถานหนึ่งดำ  สถานหนึ่งแดง”  และอีกชนิดหนึ่งได้แก่  พระผงสุพรรณที่ทำจากแร่ธาตุโลหะซึ่งเรียกตามจารึกว่า ได้เอาแร่ต่าง ๆ มีอานุภาพต่างกัน….ถ้าผู้ใดพบพระ…..ทำด้วยแร่สังฆวานรก็ดี”  ซึ่งหมายถึงพระผงสุพรรณเนื้อชินที่รู้จักกันในชื่อ  พระผงสุพรรณยอดโถ”     สำหรับพระผงสุพรรณเนื้อดินนั้น  เป็นพระเครื่องที่มีส่วนผสมวัสดุมวลสารจากดินละเอียด ว่าน และเกสรต่าง ๆ  คนโบราณเรียกว่า  พระเกสรสุพรรณ”  จะสังเกตได้ว่าเนื้อดินของพระผงสุพรรณเป็นเนื้อดินค่อนข้างละเอียด  หากเปรียบเทียบกับพระนางพญากรุวัดนางพญา  จ.พิษณุโลก  แล้วจะเห็นว่าเนื้อพระผงสุพรรณจะละเอียดกว่า  แต่ไม่ละเอียดมากเหมือน  พระรอดกรุวัดมหาวัน  จ.ลำพูน  ซึ่งดินที่ใช้เป็นดินในบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี  ซึ่งดินแต่ละที่จะมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนกัน  สำหรับปัญหาที่ว่า  หากผสมว่านเมื่อพระผ่านการเผา  มวลสารของว่านจะไม่สามารถทนอุณหภูมิความร้อนได้  ต้องย่อยสลายไปนั้น  หากพิจารณาแล้วในองค์พระผงสุพรรณก็ไม่ปรากฏโพรงอากาศอันเกิดจากการย่อยสลายของเนื้อว่าน  แต่อย่างใดนั้น ต้องพิจารณาถึงกรรมวิธีการสร้างพระของโบราณาจารย์เป็นสำคัญว่า  มีหลายวิธี  วิธีประการหนึ่งซึ่งพบหลักฐานในการนำว่านผงเกสรมงคล  ๑๐๘  มาเป็นวัตถุมงคลในการสร้างพระ  ได้แก่ การนำหัวว่านมงคลต่าง ๆ มาคั้นเอาน้ำว่านเป็นส่วนผสมเข้ากับมวลสารอื่น ๆ ซึ่งจะพบว่าพระผงสุพรรณนั้นมีความหนึกนุ่ม  และซึ้งจัด  หากได้โดนเหงื่อโคลนแล้ว ยิ่งขึ้นเป็นมันเงางามอย่างที่คนโบราณเรียกว่า  แก่ว่าน”  ซึ่งได้แก่การคั้นน้ำว่านผสมลงไป  ดังนั้น  เมื่อผ่านการเผาจึงมิได้เกิดการย่อย สลายของเนื้อว่าน     เนื่องจากพระผงสุพรรณเนื้อดินเป็นพระที่ผ่านการเผาไฟ  สีสันขององค์พระจึงเป็นเฉกเช่นเดียว  กับพระเนื้อดินที่ผ่านการเผาประเภทอื่น ๆ คือ มีตั้งแต่สีเขียวที่ถูกเผาในอุณหภูมิสูงและนานที่สุด สีแดง  สีน้ำเงินเข้ม สีเทา  ไปจนถึงสีดำ     การสร้างพระพิมพ์เนื้อดินเผา  มีมาแต่สมัยโบราณโดยมีการพัฒนาเทคโนโลยีการสร้างควบคู่มากับเทคนิคการทำเครื่องปั้น  ดินเผา โดยเฉพาะดินแดนประเทศไทยนั้น พบพระพิมพ์ดินเผาตั้งแต่ยุคทวาราวดีเรื่อยมา  ในศิลาจารึกหลักที่  ๒ วัดศรีชุม ซึ่งจารึกโดยพระมหาเถรศรีศรัทธา (พ.ศ. ๑๘๙๐ - ๑๙๑๗)  ได้กล่าวถึงปาฏิหารย์ของพระเกศธาตุโดย  เปรียบเทียบกับการเผาดินโดยแสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีในการควบคุมอุณหภูมิดังความว่า พระเกศ ธาตุเสด็จมี  หมู่หนึ่งซีดัง  สายฟ้าแลบดังแถวน้ำแล่นในกลางหาวอัศจรรย์  สิ่งหนึ่งเห็นตะวันออกเขียวดังสูงเผาหม้อเผาไห”  ซึ่งจากการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์พบว่า  สีของเปลวไฟที่ออกเป็นสีเขียว  จะต้องมีอุณหภูมิถึง  ๑,๓๐๐ - ๑,๔๐๐  องศาเซลเซียส  ซึ่งจะกระทำได้เมื่อมีเทคโนโลยีการสร้างเตาเผา การให้ความร้อนและการควบคุมอุณหภูมิอย่างดีเยี่ยม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น